วันนี้มีภาพเมืองไทยในอดีตที่คนรุ่นใหม่ ยังไม่เคยเห็น มาก่อน ว่าเมื่ออดีตมันต่างกับปัจจุบันมากแค่ไหน
ตะปิ้งสำหรับเด็กหญิง นิยมใช้กันมากแถวภาคใต้ โดยเฉพาะลูกคนมีฐานะก็จะใช้ตะปิ้งที่ทำจากทองคำ ส่วนคนธรรมดาใช้ตะปิ้งเงินก็หรูแล้ว

สาวงามสยามกับลีลาในการถ่ายภาพในอดีต เมื่อปี พ.ศ. 2406

ทรงผมสมัยก่อน ราวๆ รัชกาลที่ 4 เรียกติดปากว่า “ทรงมหาดไทย” แต่ในยุคสมัยนั้น ทรงนี้เรียกว่า “หลักแจว”

วัดราชนัดดา เมื่อปี พ.ศ. 2433 พื้นที่บริเวณนั้นยังเป็นป่าเหลือว่างมากมาย ยังไม่ได้ตัดถนนราชดำเนิน ซ้ายมือลิบ ๆ ภูเขาทอง วัดสระเกศ

ลานพระบรมรูปทรงม้า วันปิยะมหาราช พ.ศ. 2522

คณะนักเรียนโรงเรียนช่างกลปทุมวัน, ช่างกลลพบุรี, ช่างกลนนทบุรี และช่างกลพระนครเหนือ ที่ถูกกล่าวในนามช่างกล ๔ เฟืองทอง พ.ศ. 2501

วิถีชีวิตของผู้คน ณ คลองบางกอก พศ. 2440

วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2473 ประเทศไทยได้ส่งทหาร จำนวน 1,200 คน ขึ้นเรือไปรบที่ประเทศเกาหลี

นักเรียนกับกระดานชนวน ที่โรงเรียนวัดแห่งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2446

ไอศกรีมป๊อป ตราเป็ด เป็นไอศครีมเจ้าแรกในประเทศไทย และใช้กลยุทธ์ขายด้วยรถซาเล้ง ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้ไอศกรีมยี่ห้ออื่นๆ ทำตามจนถึงทุกวันนี้

รถโอวันตินเย็นเคลื่อนที่ ไปแจกเด็กนักเรียนฟรี ตามโรงเรียนต่างๆ พ.ศ. 2511

บรรยากาศพ่อค้า แม่ค้า บริเวณหน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง เมื่อปี พ.ศ. 2523 ผู้คนมาอดหนุนดูคึกคัก มีปูเสื่อให้นั่งทานได้อย่างเรียบร้อย

พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2456 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ณ บริเวณทุ่งส้มป่อย ซึ่งเป็นทุ่งนาระหว่างพระราชวังสวนดุสิตกับวังพญาไท (ปัจจุบันคือโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า)

รถขายไอศกรีมโฟร์โมสต์ เมื่อปี พ.ศ. 2513

แยกแปลงนาม ถนนเจริญกรุง ปี พ.ศ. 2493

โรงงานเป๊ปซี่ ยุคแรก ที่ถนนศาลาแดง เมื่อปี พ.ศ. 2497

สะพานพุทธยอดฟ้าผู้คนเดินข้ามไปมาสมัยยังมีโรงไฟฟ้าวัดเลียบ พ.ศ. 2501 ภาพโดย รงค์ วงษ์สวรรค์

ภาพระเบิดลงที่ไปรษณีย์โทรเลขกรุงเทพฯ ที่ 8 ที่มีชื่อเสียงอย่างมากในด้านการรับเงินโอนเงินข้ามประเทศมากที่สุดในขณะนั้น

ชีวิตบนท้องถนนในกรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2527

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อปี พ.ศ. 2504 ด้านถนนพหลโยธิน มุ่งหน้าไปพญาไท

เป็นไงกันบ้าง จะเห็นว่ายุคสมัยมันเปลี่ยนไป บ้านเมืองเราก็เจริญขึ้น ไปตามยุค
ขอบคุณที่มา: board.postjung.com