ขณะนี้ประเทศไทยเข้าสู้หน้าร้อนอย่างเป็นทางการแล้ว ทำให้ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศมีอากาศร้อนจัด โดยวันนี้เราจะมาพามาทำความรู้จัก ภัยร้ายในช่วงหน้าร้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิต อย่าง “ฮีทสโตรก” (Heat stroke) หรือ โรคลมแดด เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกายได้


ส่งผลให้ผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง หรือผู้ที่ต้องตากแดดเป็นเวลานาน อาจจะมีอาการหน้ามืด-วิงเวียนศีรษะ คล้ายจะเป็นลม นอกจากนี้เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิพุ่งสูงถึง 40 องศาเซลเซียส

จะทำให้เกิดภาวะผิดปกติทางสมองเพราะการปรับตัวของร่างกาย อาจส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ รวมถึงส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ในร่ายกาย อาทิ สมอง หัวใจ ปอด ไต และถ้าหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้ ถึงขั้นพิการและเสียชีวิตได้

เช็กอาการของ ฮีทสโตรก เบื้องต้น มีดังนี้
- ตัวร้อนขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงถึง 40 องศา
- ไม่มีเหงื่อออก รู้สึกกระหายน้ำมาก
- หายใจถี่ ชีพจรเต้นแรง, หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ปวดศีรษะ, หน้ามืด, ความดันโลหิตต่ำ, หมดสติ
- อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน

วิธีดูแลสุขภาพและคำแนะนำ มีดังนี้
- สวมใส่เสื้อผ้าสีอ่อน ระบายความร้อนได้ดี ควรอยู่ในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
- หลีกเลี่ยงการกินยาแก้แพ้ หรือยาลดน้ำมูก
- ลดหรือเลี่ยงทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงกลางแจ้งนาน ๆ
- ใช้ครีมกันแดดที่ SPF15 ขึ้นไป สวมแว่นกันแดด กางร่ม สวมหมวกปีกกว้าง
- ควรดื่มน้ำ 2-3 ลิตรต่อวัน หรืออย่างน้อย 6-8 แก้ว เพื่อชดเชยการเสียน้ำในร่างกายจากเหงื่อออก
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ผู้ที่ออกกำลังกาย ควรเลือกในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น เนื่องจากเป็นช่วงที่อากาศไม่ร้อนและเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม นอกจากนี้ควรมีการอบอุ่นร่างกายก่อนทุกครั้ง

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป มี 6 กลุ่ม
- ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดด เช่น ออกกำลังกาย
- เด็กเล็กและผู้สูงอายุ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเท่าคนหนุ่มสาว
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง
- ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก
- ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ โดยร่างกายของคนอ้วนและผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอจะตอบสนองต่อความร้อนที่ได้รับช้ากว่าปกติ
