กรมอุทยานฯ เตือน งูสิง เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง จับกินมีโทษ คุก 4 ปี ปรับหนัก ย้ำเหตุสำคัญต้องอนุรักษ์

เตือนงูสิง เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง กรมอุทยานฯ เตือนงูสิง เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
วันที่ 3 พ.ค. น.ส.กาญจนา นิตยะ ผอ.สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวถึงกรณีชาวบ้านเผยแพร่คลิปรายการโชว์กินปรุงอาหารต้มยำงูสิง ที่จ.พะเยา ว่า เดิมทีงูสิงไม่ได้ถูกบรรจุเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง แต่เนื่องจากหลายสิบปีที่ผ่านมา

เมื่อมีการตรวจสอบตามด่านต่างๆ โดยเฉพาะชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน พบมีการจับงูสิงเพื่อส่งออกจำนวนมาก เพื่อถลกหนังขาย หรืออาจนำไปเป็นอาหาร ขณะเดียวกันชาวบ้านในพื้นที่ไม่ว่าจะเหนือหรืออีสาน มักนิยมจับงูสิงเป็นอาหารด้วยเช่นกัน เพราะมีพิษอ่อน

“เนื่องจากงูสิงมีความสำคัญต่อระบบนิเวศ หากมีการจับหรือล่าจนมากเกินไป จะส่งผลต่อระบบนิเวศและห่วงโซ่อาหารได้ เพราะงูสิงจะคอยควบคุมประชากร เช่น หนูที่ทำลายพืชผลการเกษตร รวมทั้งสัตว์ฟันแทะด้วย ดังนั้นเมื่อปริมาณงูสิงเริ่มลดลง กรมอุทยานฯ จึงได้บรรจุงูสิงเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครอง พ.ศ.2535”

ผอ.สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กล่าวว่า ปัจจุบันงูสิงมีหลายสปีชี่ส์หรือหลายประเภท แต่ทั้งหมดจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ซึ่งหากมีการจับหรือล่าจะมีโทษทางกฎหมาย โทษจำคุก 4 ปีปรับไม่เกิน 40,000 บาท

ที่มารูป: https://www.google.com/url?sa=i

งูสิงตาโต หรือ งูสิงบ้าน หรือ งูเห่าตะลาน (Indochinese rat snake) เป็นสัตว์เลื้อยคลาน จำพวกงูสิงชนิดหนึ่งหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง มีความยาวเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 1,400 มิลลิเมตร และหางยาว 445 มิลลิเมตร หัวยาวและส่วนของหัวกว้างกว่าลำคอเล็กน้อย ส่วนปลายของหัวมน ตาใหญ่มาก ลำตัวกลมและยาว หางยาวและส่วนปลายหางเรียว ผิวหนังลำตัวมีเกล็ดปกคลุม

เกล็ดบนหัวเป็นแผ่นกว้าง เกล็ดบนหลังทางส่วนต้นของลำตัวมีขนาดใหญ่และพื้นผิวเรียบ เกล็ดท้องขยายกว้าง เกล็ดใต้หางเป็นแถวคู่ เกล็ดรอบลำตัวในตำแหน่งกึ่งกลางตัวจำนวน 15 เกล็ด เกล็ดท้องจำนวน 170 เกล็ด และเกล็ดใต้หางจำนวน 125 เกล็ด

ลำตัวมีด้านบนของหัวและบนหลังครึ่งทางด้านหน้าของลำตัวสีน้ำตาล หรือสีน้ำตาลอมเขียว ส่วนครึ่งทางด้านท้ายของลำตัวสีน้ำตาล เกล็ดปกคลุมลำตัวและหางมีขอบแผ่นเกล็ดสีจางหรือสีขาว ซึ่งสีขาวของขอบแผ่นเกล็ดได้ขยายกว้างขึ้นตามลำดับไปทางด้านท้ายลำตัวและหาง ทำให้ด้านท้ายของลำตัว

โดยเฉพาะหาง เป็นสีขาวที่มีโครงข่ายร่างแหสีดำ คาง ใต้คอ และด้านท้องสีขาวอมน้ำตาล ด้านใต้หางสีขาว งูวัยอ่อนมีจุดเล็กสีขาวเรียงตัวเป็นแถวพาดขวาง (ไม่เป็นระเบียบ) เป็นระยะอยู่ทางส่วนต้นของลำตัว

พบกระจายพันธุ์ในทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ และอนุทวีปอินเดีย เป็นงูที่กินหนูเป็นอาหารหลักกินงูเป็นรอง ออกหากินในเวลากลางวันบนพื้นดิน แต่ขึ้นต้นไม้ได้ดีและรวดเร็ว ว่ายน้ำได้ ประกอบกับมีพฤติกรรมการขู่และชูหัวพร้อมส่งเสียงขู่ฟ่อคล้ายงูเห่า ซึ่งเป็นงูพิษอ่อน ไม่มีอันตราย กัดคนไม่ตาย

ขอบคุณที่มา www.khaosod.co.th

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *