เผยภาพเมืองไทยในอดีต ที่คนรุ่นใหม่ไม่เคยเห็นในวิชาประวัติศาสตร์มาก่อน

วันนี้มีภาพเมืองไทยในอดีตที่คนรุ่นใหม่ ยังไม่เคยเห็น มาก่อน ว่าเมื่ออดีตมันต่างกับปัจจุบันมากแค่ไหน

ตะปิ้งสำหรับเด็กหญิง นิยมใช้กันมากแถวภาคใต้ โดยเฉพาะลูกคนมีฐานะก็จะใช้ตะปิ้งที่ทำจากทองคำ ส่วนคนธรรมดาใช้ตะปิ้งเงินก็หรูแล้ว

สาวงามสยาม​กับลีลาในการถ่ายภาพ​ในอดีต เมื่อปี​ พ.ศ. 2406

ทรงผมสมัยก่อน ราวๆ รัชกาลที่ 4 เรียกติดปากว่า “ทรงมหาดไทย” แต่ในยุคสมัยนั้น ทรงนี้เรียกว่า “หลักแจว”


วัดราชนัดดา เมื่อปี พ.ศ. 2433 พื้นที่บริเวณนั้นยังเป็นป่าเหลือว่างมากมาย ยังไม่ได้ตัดถนนราชดำเนิน ซ้ายมือลิบ ๆ ภูเขาทอง วัดสระเกศ

ลานพระบรมรูปทรงม้า วันปิยะมหาราช​ พ.ศ. 2522

คณะนักเรียนโรงเรียนช่างกลปทุมวัน, ช่างกลลพบุรี, ช่างกลนนทบุรี และช่างกลพระนครเหนือ ที่ถูกกล่าวในนามช่างกล ๔ เฟืองทอง พ.ศ. 2501

วิถีชีวิตของผู้คน ณ คลองบางกอก พศ. 2440

วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2473 ประเทศไทยได้ส่งทหาร จำนวน 1,200 คน ขึ้นเรือไปรบที่ประเทศเกาหลี

นักเรียนกับกระดานชนวน​ ที่โรงเรียนวัดแห่งหนึ่ง​ เมื่อปี​ พ.ศ. 2446

ไอศกรีมป๊อป​ ตราเป็ด เป็นไอศครีมเจ้าแรกในประเทศไทย และใช้กลยุทธ์ขายด้วยรถซาเล้ง ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้ไอศกรีมยี่ห้ออื่นๆ ทำตามจนถึงทุกวันนี้

รถโอวันตินเย็นเคลื่อนที่ ไปแจกเด็กนักเรียนฟรี ตามโรงเรียนต่างๆ พ.ศ. 2511

บรรยากาศพ่อค้า แม่ค้า บริเวณหน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง เมื่อปี พ.ศ. 2523 ผู้คนมาอดหนุนดูคึกคัก มีปูเสื่อให้นั่งทานได้อย่างเรียบร้อย

พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2456 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ณ บริเวณทุ่งส้มป่อย ซึ่งเป็นทุ่งนาระหว่างพระราชวังสวนดุสิตกับวังพญาไท (ปัจจุบันคือโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า)

รถขายไอศกรีมโฟร์โมสต์​ เมื่อปี​ พ.ศ. 2513

แยกแปลงนาม ถนนเจริญกรุง ปี พ.ศ. 2493

โรงงานเป๊ปซี่​ ยุคแรก​ ที่ถนนศาลาแดง​ เมื่อปี​ พ.ศ. 2497

สะพาน​พุทธ​ยอดฟ้าผู้​คนเดินข้าม​ไป​มาสมัย​ยัง​มีโรงไฟฟ้า​วัดเลียบ พ.ศ. 2501 ภาพโดย รงค์ วงษ์สวรรค์

ภาพระเบิดลงที่ไปรษณีย์โทรเลขกรุงเทพฯ ที่ 8 ที่มีชื่อเสียงอย่างมากในด้านการรับเงินโอนเงินข้ามประเทศมากที่สุดในขณะนั้น

ชีวิตบนท้องถนนในกรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2527

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อปี พ.ศ. 2504 ด้านถนนพหลโยธิน มุ่งหน้าไปพญาไท

เป็นไงกันบ้าง จะเห็นว่ายุคสมัยมันเปลี่ยนไป บ้านเมืองเราก็เจริญขึ้น ไปตามยุค

ขอบคุณที่มา: board.postjung.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *