ทำไมเราต้องวิ่ง วิ่งมีดีอย่างไร?

“การวิ่งเหยาะ เพื่อออกกำลังกาย เป็นการวิ่งช้าๆ ด้วยความเร็วสม่ำเสมอ เป็นความเร็วที่เราเองควบคุมได้”

Cr.https://pixabay.com/images/id-1274661/

จะว่าไปแล้วปัจจุบันคนไทยนั้นมีความสนใจกีฬาค่อนข้างมากเลยทีเดียว สังเกตเห็นได้จากการแข่งขันกีฬานัดสำคัญๆ เมื่อถึงเวลาถ่ายทอดทางโทรทัศน์จะมี คนไทยทุกเพศ ทุกวัย เฝ้าติดตามดู ตามเชียร์ ดึกดื่นค่อนคืนแค่ไหนก็ไม่หวั่น เช่น การแข่งขันฟุตบอล รอเชียร์ทีมโปรด เป็นต้น

รวมไปถึงการ หันมาดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายทานอาหารคลีนกันมากขึ้น และสนามกีฬาต่างๆ เช่น ฟุตบอล แบตมินตัน ก็มีเปิดให้บริการมากมาย รวมถึงเข้าฟิตเนส ฟิตหุ่นให้ดูดี ดูสวยด้วย


Cr.https://www.pexels.com/th-th/photo/2261485/

แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าการออกกำลังกายบางประเภทนั้น ก็ไม่ได้ทำให้ร่างกายเราแข็งแรงขึ้นเสมอไป เพราะร่างกายแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน บางครั้งการออกกำลังกายที่หักโหมจนเกินไปมันไม่ดีต่อหัวใจ เพราะกีฬาบางประเภท เป็นการออกกำลังกายบริหารหัวใจแบบ เปิดๆ ปิดๆ  เช่น  เทนนิส แบตมินตัน หรือฟุตบอล

ซึ่งขนาดที่เรายืนรอรับลูกเสิร์ฟ หรือหยุดวิ่งนั้น หัวใจเราจะเต้นปรกติ แต่พอเราวิ่งไปรับลูกเสิร์ฟ หัวใจเราจะเต้นแรงขึ้น จากภาวะพัก เป็นภาวะที่หัวใจทำงานหนักทันทีทันใด เราจึงได้เห็นข่าวนักกีฬาหัวใจวายกลางสนามขนาดเล่นกีฬา กราฟการทำงานของหัวใจแบบ เปิดๆ ปิดๆ ดังนี้

จะเห็นได้ว่าหัวใจต้องทำงานหนักมาก ถ้าเปรียบเทียบหัวใจเหมือนเครื่องรถยนต์ที่เดี๋ยวหยุดนิ่งอยู่กับที่ เดี๋ยวก็เข้าเกียร์กระชากรถออกไปอย่างแรงแบบนี้ไม่นานเครื่องยนต์ก็พังหมด ยิ่งถ้าเป็นเครื่องจักร(หัวใจเรา)ที่ชำรุด มีตำหนิหรือจุดอ่อนอยู่ก่อนด้วยแล้วก็ยิ่งจะพังเร็วขึ้น ตรงข้ามกับการวิ่งเหยาะๆ เพื่อออกกำลังกายแบบจ๊อกกิ้ง ซึ่งเป็นการวิ่งช้าๆ ด้วยความเร็วสม่ำเสมออันเป็นความเร็วที่เราเองควบคุมได้ ไม่ใช่ควบคุมด้วยความเร็วของคู่ต่อสู้

กราฟการทำงานของหัวใจการวิ่งเหยาะๆ ดังนี้


จะเห็นได้ว่า หัวใจทำงานสม่ำเสมอ ประมาณร้อยละ 75 ของอัตราเต้นสูงสุดของหัวใจ การออกกำลังกายแบบวิ่งเหยาะๆ นี้ เป็นกีฬาที่ช่วยบริหาร หัวใจได้ดี เช่นเดียวกับการว่ายน้ำ หรือขี่จักรยาน เปรียบเสมือนรถยนต์ที่ค่อยๆ เพิ่มความเร็วช้าๆ ตามจังหวะของมันจากเกียร์หนึ่ง สอง สาม และสี่ วิ่งสบายๆ ด้วยความเร็วพอดีไปนานๆ และไกลๆ

ด้วยวิธีนี้กล้ามเนื้อหัวใจก็จะได้ออกกำลังกายบริหารสม่ำเสมอและถูกต้อง นานๆเข้ากล้ามเนื้อหัวใจก็จะแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ เราจึงแทบไม่เคยได้ยินเลยว่านักวิ่งเหยาะๆ ระยะไกลคนใดเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ คงจะจริงที่เชื่อกันว่า  

“ถ้าใครวิ่งมาราธอนได้ คนนั้นจะปลอดจากโรคหัวใจไป 5 ปี” 

ทั้งหมดนี้ผู้เขียนไม่ได้จะบอกว่ากีฬาประเภทอื่นไม่ดีนะครับ แต่จะบอกว่าการออกกำลังกายนั้น มันก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของร่างกายแต่ละคน เลือกออกกำลังให้เหมาะสมไม่หักโหมเกินไป และที่สำคัญต้องทานอาหารที่มีประโยชน์ด้วยครับ

เรียบเรียง: inewshare.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *